โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
Bachelor of Business Administration Program in Business Computer
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม : ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
Bachelor of Business Administration (Business Computer)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
B.B.A. (Business Computer)
จุดประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional) ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้าน ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรม
คุณสมบัติเฉพาะโปรแกรมวิชา
โครงสร้างหลักสูตร
มีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 3 หน่วยกิต
1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)
(2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน 3(3-0)
2000101 สุนทรียภาพของชีวิต 3(3-0)
(3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
2500103 วิถีโลก 3(3-0) และ/หรือ
2500104 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 3(3-0)
(4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
4000102 วิการคิดและการตัดสินใจ 3(2-2) และ/หรือ
4000104 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 3(2-2)
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน (แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ) 49 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1 บังคับ เรียน 24 หน่วยกิต
1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3504101 จริธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 3(2-2)
4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้ว
ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจตาม 1.2 แทน
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้
3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1
3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
3521101 การบัญชี 1
3521102 การบัญชี 2
4112105 สถิติธุรกิจ
3531101 การเงินธุรกิจ
3541101 หลักการตลาด
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่
กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
(2) กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ เรียน 9 หน่วยกิต
3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) ต้องผ่านการศึกษา
รายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101 องค์การและการจัดการ และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่
กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียน
รายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน
(3) กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 2(0-90)
3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 3(0-210)
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้
Web Link จำนวน 5 เวป
21:30 |
เป็น Web Link ที่ชื่นชอบมาก ๆ ค่ะ
1. เวป Toyota Yaris
http://www.toyota.co.th/th/models/Yaris/yaris2009_index.htm
2. เวป Facebook
3. เวป การท่องเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์
4. เวป การท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
5. เวป การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
ข่าวสารวิชาการ
20:28 |
เปิดตัวเทคนิคในการนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งาน
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศของสถาบันวิจัยทางด้านการนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานได้ร่วมมือกับบริษัทที่ผลิตสินค้าทางด้านโซล่าเซลล์ของประเทศนอร์เวย์พัฒนาเทคนิคใหม่ในการนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานโดยการใช้หน้าต่างอาคารให้เป็นประโยชน์
บริษัทในประเทศนอร์เวย์อย่าง EnSol AS ได้ทำการจดสิทธิบัตรในการผลิตฟิล์มที่มีขนาดบางและทำหน้าที่เหมือนเป็นแผงโซล่าเซลล์ โดยฟิล์มชนิดนี้สามารถนำไปติดตามหน้าต่างกระจกของอาคาร บ้านเพื่อทำการเก็บกักพลังงานที่ได้จากแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ประโยชน์ตามครัวเรือน อาคารต่างๆ ซึ่งแผนของการผลิตฟิล์มชนิดนี้เพื่อจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการจะประมาณปี 2016
ในขณะนี้ทางบริษัทได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย Leicester ในการพัฒนาแผงโซล่าเซลล์แบบใหม่ให้เสร็จสมบูรณ์โดยอุปกรณ์แผงโซล่าเซลล์แบบใหม่นี้จะมีลักษณะบางและถูกเคลือบด้วยสารเฉพาะเหมาะกับการใช้ติดกระจกเพื่อช่วยในการเก็บกักพลังงานแสงอาทิตย์
วัสดุที่ใช้ถูกออกแบบมาเฉพาะโดยบริษัท EnSol AS ซึ่งหลักการการออกแบบวัสดุก็เพื่อให้เหมาะกับการใช้หลักการการทำงานของอนุภาคโลหะขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 นาโนเมตร โดยอนุภาคนี้ถูกสังเคราะห์โดยสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัย Leicester แผ่นฟิล์มที่ได้จะมีความโปร่งใสสามารถนำไปติดที่กระจกได้ แสงที่ส่องผ่านจะถูกดูดซับไว้ปริมาณหนึ่งเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานที่ต้องการ แผ่นฟิล์มนี้สามารถนำไปเคลือบติดกับพื้นที่ที่เป็นกระจกขนาดใหญ่ได้ดีและราคาก็ถูกกว่าอุปกรณ์แบบเดิมอยู่มาก
อาคารบางแห่งที่ต้องการใช้เทคโนโลยีในการหมุนเวียนและใช้งานพลังงานอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ก็สามารถเพิ่มอุปกรณ์เก็บกักพลังงานแสงอาทิตย์อย่างหลังคาแผงโซล่าเซลล์ หรือกระเบื้องที่ออกแบบมาให้สามารถเก็บกักพลังงานแสงอาทิตย์ได้
บริษัท EnSol ยังมีแผนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานให้ง่ายและถูกลงโดยเทคโนโลยีต่อไปน่าจะเป็นการใช้วัสดุที่เพียงแค่ฉีดสเปรย์ลงไปก็สามารถเป็นตัวกำเนิดพลังงานได้ ซึ่งยังเป็นแผนการพัฒนาในอนาคต
ที่มา :
http://www.physorg.com/news200631202.html
โดย : ธนัช
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)